อัพเดทล่าสุด: 6 ก.ค. 2023
410 ผู้เข้าชม
เกณฑ์น้ำหนักที่ควรลงหลังผ่าตัด
- สิ้นเดือนที่ 1 ลดลง 10% ของน้ำหนักตั้งต้น
- สิ้นเดือนที่ 3 ลดลง 20% ของน้ำหนักตั้งต้น
- สิ้นเดือนที่ 6 ลดลง 30% ของน้ำหนักตั้งต้น
- สิ้นเดือนที่ 12 ลดลง 35-40% ของน้ำหนักตั้งต้น
สำหรับผู้ที่น้ำหนักยังไม่ลงตามเกณฑ์ มักพบว่ามีสาเหตุดังนี้
1. กินอาหารพลังงานเยอะ
- หลังผ่าตัดในช่วง 6 เดือนแรก ไม่ควรรับประกินอาหารหรือเครื่องดื่มเกิน 800 กิโลแคลอรี่ต่อวัน
- มักพบผู้ที่กินอาหารพลังงานเกินในผู้ที่พยายามกินโปรตีนเสริมทดแทน โดยไม่ได้คำนวณพลังงานรวมต่อวัน หรือกินโปรตีนเสริมโดยที่ไม่ได้ออกกำลังกาย ทำให้พลังงานที่เข้าไปในร่างกายเกินกว่าที่ร่างกายต้องการ แล้วน้ำหนักไม่ลงได้
2. กินอาหารทุกอย่าง
- อาหารหลังผ่าตัดที่แนะนำคืออาหารโปรตีนเป็นหลัก หรือเลือกรับประกินกับเป็นหลัก และผ่านการแปรรูปน้อยที่สุด
- ควรหลีกเลี่ยงอาหารในกลุ่มของข้าว แป้ง น้ำตาล น้ำหวาน ของทอด ของทอด และอาหารแปรรูป
- ไม่แนะนำพวกเครื่องดื่มน้ำตาล 0% เพราะมีสารให้ความหวาน จะทำให้สมอง มีความอยากหวาน และอยากรับประกินอาหารอื่นๆ มากขึ้นเรื่อยๆ
- ถ้าคิดว่ากระเพาะอาหารเหลือน้อยแล้ว จะกินอะไรก็ได้ แต่กินได้นิดเดียว ตรงนี้จะทำให้น้ำหนักไม่ลงตามเกณฑ์ได้
3. ลดน้ำหนักมาก่อนผ่าตัดแล้ว
- ในผู้ที่ลดน้ำหนักได้ 5-10% ก่อนผ่าตัด น้ำหนักอาจไม่ลงตามเกณฑ์ด้านบนได้ เพราะน้ำหนักได้ลงไปก่อนล่วงหน้าแล้ว แต่ผลลัพธ์สุดท้ายก็จะลงได้เท่าๆ กัน ถ้าคิดจากน้ำหนักตั้งต้นก่อนเริ่มลด
- อย่างไรก็ตามการลดน้ำหนักก่อนผ่าตัดจะมีข้อดีในแง่การลดความเสี่ยงจากการดมยาสลบขณะผ่าตัด ลดขนาดตับได้ และลดความหนาของผนังหน้าท้องทำให้หมอผ่าตัดง่ายขึ้น
4. เครียด
- ท่านที่มีเรื่องเครียด ไม่ว่าจะเรื่องงาน เรื่องครอบครัว หรือเรื่องน้ำหนัก จะทำให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนเครียดมากขึ้น ส่งผลให้การเผาผลาญลดลง
- แนะนำให้หาสิ่งผ่อนคลาย หรือเบี่ยงเบนความสนใจจากเรื่องที่ทำให้เครียด ปัญหาต่างๆ นั้นมีทั้งปัญหาที่เราแก้ได้เองได้และแก้เองไม่ได้ ถ้าเราแก้เองได้ก็แก้ แก้เองไม่ได้ก็ต้องปล่อยวาง เครียดมากไปก็เท่านั้น
5. นอนดึก
- การพักผ่อนน้อย ได้แก่ การนอนหลับน้อยกว่า 7 ชั่วโมงต่อวัน หรือนอนหลับหลัง 4 ทุ่ม จะทำให้ฮอร์โมนเครียดและฮอร์โมนหิวหลั่งออกมาได้มากขึ้น ทำให้น้ำหนักขึ้นและหิวบ่อยได้
- แนะนำให้นอนหลับอย่างน้อย 7-9 ชั่วโมงต่อวัน และเข้านอนก่อน 4 ทุ่ม