1. เป็นผู้ที่มีดัชนีมวลกาย หรือ ค่า BMI ตั้งแต่ 32.5 ขึ้นไป และมีโรคประจำตัว เช่น เบาหวานชนิดที่ 2 โรคความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง ปวดหัวเข่า ข้อเสื่อม หยุดหายใจขณะนอนหลับ นิ่วในถุงน้ำดี ถุงน้ำรังไข่หลายใบ โดยมีอาการประจำเดือนมาไม่ปกติ และขนดก เป็นต้น
2. เป็นผู้ที่มีดัชนีมวลกาย หรือ ค่า BMI ตั้งแต่ 37.5 ขึ้นไป แต่ไม่มีโรคประจำตัวร่วมด้วย
3. เป็นผู้ที่พยายามลดน้ำหนัก แต่ไม่เห็นผล และแน่นอนว่าต้องมีค่า BMI ถึงเกณฑ์เท่านั้นจึงจะสามารถทำการผ่าตัดกระเพาะเพื่อลดน้ำหนักได้ โดยควรปรึกษากับคุณหมอโดยตรงแบบ case by case ค่ะ
อายุ 18-65 ปี สามารถผ่าตัดได้
ไม่แนะนำผ่าตัดในผู้ที่อายุมากกว่า 65 ปี เนื่องจากผลเสียจะมากกว่าผลดี เช่น กระดูกเริ่มบางแล้วเมื่อเทียบกับคนอายุน้อยกว่า หากผ่าตัดไปแล้วรับประทานแคลเซียมไม่เพียงพอ หรือขาดวิตามินดี จะทำให้กระดูกบาง หรือพรุน หักง่าย
สำหรับเด็กที่อายุน้อยกว่า 18 ปี อาจมีข้อบ่งชี้บางอย่างที่สามารถผ่าตัดได้ คือ มีโรคร่วมที่รุนแรง เช่น เบาหวาน หยุดหายใจขณะนอนหลับ ความดันโลหิตสูง ไขมันเกาะตับรุนแรง ทั้งนี้ควรได้รับการตรวจจากแพทย์เฉพาะทาง และได้รับความยินยอมจากผู้ปกครองที่มีความเข้าใจเรื่องการผ่าตัดและการปฏิบัติตัวหลังผ่าตัด เป็นอย่างดี
เนื่องจากเป็นการผ่าตัดแบบส่องกล้องแผลเล็ก และด้วยเทคนิคเฉพาะของหมอเอง ก็เลยมีแผลผ่าตัดเพียงแค่ 3 รูเล็กๆ เท่านั้น โดยเป็น
กระเพาะอาหารส่วนที่ตัดทิ้ง ถูกนำออกมาทางแผลล่างสุด ตามในรูปค่ะ
ดังนั้นการผ่าตัดกระเพาะอาหารเพื่อรักษาโรคอ้วน จึงเป็นการผ่าตัดที่แผลเล็ก เจ็บน้อย และฟื้นตัวไวค่ะ
หลังผ่าตัดกระเพาะอาหารเพื่อรักษาโรคอ้วน แผลที่ผ่าตัดยังอาจไม่ติดดี 100% หากทานอาหารข้ามระยะแล้วมีอาการอาเจียนรุนแรงจนอาจทำให้แผลในกระเพาะ ที่เย็บไว้ปริได้จากความดันในกระเพาะอาหารเพิ่มสูงขึ้น มีปัญหากระเพาะรั่วตามมาได้ ดังนั้นหมอจึงขอแนะนำการรับประทานอาหารตามระยะ
ระยะที่ 1 ระยะอาหารเหลว (14 วันแรกหลังผ่าตัด)
อาหารเหลวที่แนะนำ :
1. นมทางการแพทย์หรือนมโปรตีนสูง
ข้อดี : เป็นอาหารทางการแพทย์ในรูปแบบของเหลวที่พลังงานสูงมาก และสารอาหารครบ หากทานครบตามที่กำหนด (4 แก้วต่อวัน) จะได้พลังงานเท่ากับที่ร่างกายต้องการต่อวัน คือ 800 กิโลแคลอรี่ต่อวัน ไม่มีปัญหาขาดสารอาหารและโปรตีน ไม่มีปัญหาโซเดียมเกิน
ข้อเสีย : กินหลายๆ มื้อแล้วอาจเลี่ยนได้ แนะนำเปลี่ยนยี่ห้อบ่อยๆ หรืออาจเอาไปแช่เย็น หรือปั่นได้
2. ซุปต่างๆ
ข้อดี : อร่อย ทานง่าย
ข้อเสีย : พลังงานสารอาหารต่างๆ และโปรตีนอาจไม่เพียงพอต่อความ
ต้องการของร่างกาย อาจทำให้ไม่มีแรงได้ และต้องระวังเรื่องโซเดียมว่าไม่เกิน 2,300 มิลลิกรัมต่อวัน
ระยะที่ 2 ระยะอาหารอ่อน (15 - 28 วันหลังผ่าตัด) เช่น ไข่ตุ๋น ไข่ต้ม ต้มจืดเต้าหู้หมูสับ ต้มเลือดหมู ปลานึ่ง ปลาย่าง ปลาเผา
ระยะที่ 3 ระยะอาหารแข็ง (หลังผ่าตัด 1 เดือนเป็นต้นไป) เช่น อาหารทั่วๆ ไปในชีวิตประจำวัน
1. ส้มตำ ของแซ่บๆ
2. แซลมอนดิบ ของดิบต่างๆ
3. เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
4. ข้าวเป็นเม็ดๆ
5. ผักสด
หลักการเลือกวิตามินหลังผ่าตัดกระเพาะ ควรมีส่วนประกอบขั้นต่ำดังนี้
1. คลื่นไส้อาเจียน
2. ขมปาก การรับรสเปลี่ยนไป
3. ท้องผูก
4. มีลมในท้อง
5. ขาดน้ำ
6. ผมร่วง
1. ขับรถยนต์หรือขี่มอเตอร์ไซค์
**ถ้าเป็นเกียร์ธรรมดาหรือมีคลัทช์จะต้องใช้แรงมากกว่าปกติ อาจเจ็บแผล และมีผลต่อแผลได้ ให้รอ 1 เดือนหลังผ่าตัดค่อยขับหรือขี่รถเกียร์ธรรมดาได้ค่ะ
2. ทำงานนั่งโต๊ะ
3. ยืนนานๆ
4. เดินเยอะๆ หรือเดินขึ้นลงบันได
**หมอไม่แนะนำให้นอนอยู่บนเตียงตลอดนะคะ เพราะเสี่ยงต่อการเกิดลิ่มเลือด อุดตันในเส้นเลือดที่ท้องหรือปอด
5. ยกของหนัก
**ห้ามยกของหนักเกิน 5 กิโลกรัมในช่วง 1 เดือนแรกหลังผ่าตัด เพราะมีผลเพิ่มความดันในกระเพาะอาหารและช่องท้อง มีผลต่อแผลผ่าตัดทั้งภายในและภายนอก อาจทำให้แผลปริได้
6. นวด
7. อบตัว อบสมุนไพร อบซาวน่า
8. ออกกำลังกาย
9. มีเพศสัมพันธ์