Share

5 ข้อควรรู้เรื่องแพ้ยาสลบจนเสียชีวิต

Last updated: 7 Jul 2023
593 Views

5 ข้อควรรู้เรื่องแพ้ยาสลบจนเสียชีวิต

ก่อนผ่าตัดกระเพาะหมอมักจะถามคนไข้เสมอว่า

“คุณ …. มีข้อกังวลใจหรือสงสัยอะไรบ้างเกี่ยวกับการผ่าตัด”

เชื่อมั้ยคะว่า หลายท่านจะกังวลว่าถ้าสลบไปแล้วจะไม่ตื่นค่ะคุณหมอ กลัวมากจริงๆ ยิ่งบางท่านที่ไม่เคยนอน รพ. หรือไม่เคยได้รับการผ่าตัดมาก่อนจะกลัวตรงนี้มาก

วันนี้หมอเลยขอถือโอกาสนี้มาเล่าเรื่อง “แพ้ยาสลบจนเสียชีวิต” ให้ฟังค่ะ

1️⃣ ภาวะแพ้ยาสลบจนเสียชีวิตคืออะไร ⁉️

- ภาวะแพ้ยาสลบจนเสียชีวิต หรือ Malignant Hyperthermia คือภาวะที่ร่างกายมีการหดเกร็งของกล้ามเนื้ออย่างต่อเนื่องโดยไม่มีการคลายตัวหลังจากได้ยาสลบบางกลุ่ม จนทำให้ของเสียคั่งในร่างกาย อุณหภูมิสูงขึ้นมาก เลือดเป็นกรด อวัยวะภายในต่างๆ ล้มเหลว จนเสียชีวิตได้หากแก้ไขไม่ทัน

- พบได้ 1 ใน 200,000 หรือ 0.0005%

2️⃣ ใครเสี่ยงเป็นบ้าง ⁉️

- ผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นภาวะแพ้ยาสลบจนเสียชีวิตมาก่อน เนื่องจากเป็นภาวะที่มีการถ่ายทอดทางพันธุกรรมแบบยีนเด่น แต่มีการแสดงออกแบบไม่สมบูรณ์

- ผู้ที่เคยดมยาสลบแล้วเคยเป็นหรือมีอาการคล้ายภาวะแพ้ยาสลบ

- ผู้ที่มีโรคประจำตัวที่อาจมีความสัมพันธ์กับภาวะแพ้ยาสลบจนเสียชีวิต ได้แก่ ผู้ป่วยกลุ่มโรคกล้ามเนื้อผิดปกติ เช่น Muscular dystrophy หรือ myopathy

- หรืออาจจะเกิดขึ้นเองในผู้ที่มีการเปลี่ยนแปลงของยีนเอง (mutation) หมายความว่า เป็นเองได้ถึงแม้จะไม่มีประวัติครอบครัวมาก่อน

3️⃣ เราสามารถทราบก่อนผ่าตัดหรือดมยาสลบได้หรือไม่ว่าจะมีภาวะนี้ ⁉️

- การตรวจวินิจฉัยทำได้โดยการตัดชิ้นเนื้อกล้ามเนื้อลายบางส่วนไปทดสอบกับยาสลบ หรืออาจตรวจ DNA จากเลือดว่ามียีนกลายพันธุ์ RYR 1 หรือไม่ แต่ทั้ง 2 วิธียังมีข้อจำกัดที่ไม่สามารถทำได้ในประเทศไทย

- ดังนั้น ประวัติคนในครอบครัวเคยดมยาสลบแล้วแพ้หรือมีอาการผิดปกติมาก่อน จึงเป็นประวัติที่จำเป็นต้องแจ้งหมอผ่าตัดและหมอดมยาสลบทุกครั้งเสมอ (ถ้ามี)

4️⃣ รักษาอย่างไร

- การรักษาคือ การรีบตระหนักว่ามีภาวะนี้เกิดขึ้น หยุดยาที่กระตุ้นให้เกิดภาวะนี้ แล้วรีบให้ยา Dantrolene ซึ่งเป็นยาที่ใช้รักษาภาวะนี้โดยเฉพาะ และรีบทำให้อุณหภูมิร่างกายกลับมาปกติ

- ซึ่งการจะรักษาได้ แปลว่า ผู้ป่วยจะต้องอยู่ในโรงพยาบาลที่มีทีมวิสัญญีแพทย์และมียารักษา

- ถ้าได้รับการรักษาด้วยยา dantrolene อย่างรวดเร็ว จะมีอัตราการเสียชีวิตน้อยกว่าร้อยละ 4

5️⃣ ข้อควรปฏิบัติสำหรับคนไข้

✅ แจ้งศัลยแพทย์และวิสัญญีแพทย์ทุกครั้งที่ต้องผ่าตัดแบบดมยาสลบถ้าเคยมีประวัติคนในครอบครัวดมยาสลบแล้วมีอาการผิดปกติ หรือแพ้ยาสลบ

✅ เลือกผ่าตัดแบบดมยาสลบในโรงพยาบาลที่ได้มาตรฐาน (มียาและทีมวิสัญญีแพทย์) เพื่อลดความเสี่ยงในกรณีที่มีภาวะแพ้ยาสลบเกิดขึ้น

ด็อกเตอร์โยโกะ ผ่าตัดกระเพาะ


Related Content
 5 Tips for Eating Effectively Post-Gastric Surgery
5 Tips for Eating Effectively Post-Gastric Surgery
Improving Health Conditions After Bariatric Surgery: When and How?
Discover the timeline and methods for improving various health conditions following gastric surgery for obesity. Backed by medical research and insights from doctors caring for over 2,500 surgical patients, this guide outlines when and how different congenital diseases can be alleviated post-surgery.
5 misconceptions about bariatric surgery to treat obesity
There are several common questions and misconceptions surrounding stomach surgery for obesity often raised by patients or the general public.
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว and นโยบายคุกกี้
Compare product
0/4
Remove all
Compare
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy