5 เทคนิคลดอาการใจสั่น วูบหลังมื้ออาหาร
หลังผ่าตัด หากท่านไหนมีอาการใจสั่น ใจเต้นเร็ว เหมือนจะวูบ จะเป็นลม หรือบางครั้งปวดท้อง ท้องเสีย หลังมื้ออาหาร ให้สงสัยว่าท่านกำลังมีกลุ่มอาการ Dumping หรือ Dumping Syndrome วันนี้หมอจะมาเล่าว่าคืออะไร และจะแก้ไขอย่างไรกันนะคะ
Dumping Syndrome คือกลุ่มอาการที่เกิดจากอาหารหรือเครื่องดื่มเข้าสู่ลำไส้เล็กเร็วเกินไป ทำให้น้ำตาลเข้าสู่กระแสเลือดอย่างรวดเร็ว จนมีอาการต่างๆ ได้
เกิดได้หลังการผ่าตัดกระเพาะ โดยจะพบหลังการผ่าตัดแบบบายพาสมากกว่า แบบสลีฟ
แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มคือ แบบมีอาการเร็วและมีอาการช้า
- มีอาการเร็ว
- เกิดขึ้นภายใน 10-30 นาที หลังรับประทานอาหารหรือเครื่องดื่ม
- อาการ ได้แก่ คลื่นไส้ เวียนศีรษะ ท้องเสีย ปวดท้องแบบบีบๆ เรอ เหงื่อแตก ใจสั่น
- เกิดขึ้นภายใน 10-30 นาที หลังรับประทานอาหารหรือเครื่องดื่ม
- มีอาการช้า
- เกิดขึ้นภายใน 1-3 ชั่วโมง หลังรับประทานอาหารหรือเครื่องดื่ม
- อาการ ได้แก่ เหงื่อแตก เพลีย อ่อนล้า หน้าแดง ใจสั่น ใจเต้นเร็ว
- เกิดขึ้นภายใน 1-3 ชั่วโมง หลังรับประทานอาหารหรือเครื่องดื่ม
5 เทคนิค เพื่อป้องกันการเกิดกลุ่มอาการ Dumping มีดังนี้
1. หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีแป้ง หรือน้ำตาล เครื่องดื่มที่มีรสหวาน เช่น น้ำผลไม้ เพราะน้ำตาลในอาหารเหล่านี้ กระตุ้นให้เกิดอาการได้
2. เพิ่มจำนวนมื้ออาหารต่อวัน เช่น เดิมรับประทาน 3 มื้อต่อวัน อาจเพิ่มเป็น 4-5 มื้อต่อวัน โดยลดปริมาณอาหารในแต่มื้อลงด้วย
3. รับประทานอาหารเน้นโปรตีนและผักให้มากขึ้น เพราะนอกจากจะเป็นแหล่งพลังงานที่ดี น้ำหนักลดได้ตามเกณฑ์ และขับถ่ายง่ายขึ้น ยังเป็นการแก้ไขปัญหาที่ตรงจุด เพราะว่าไม่กินแป้งหรือน้ำตาลนั่นเอง
4. ดื่มน้ำเปล่าให้ถึง 1.5-2 ลิตรต่อวัน และดื่มน้ำเปล่าหลังอาหาร 30 นาที
5. เคี้ยวอาหารให้ละเอียดก่อนกลืน ช่วยลดอาการอืดแน่นท้อง และไม่ต้องให้กระเพาะอาหารทำงานหนักอีกด้วย